เอสทีไอ (STI) คืออะไร

เอสทีไอ (STI) เป็นคำย่อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ (Sexually Transmissible Infections)

เอสทีไอ (STI) เป็นอาการเจ็บป่วยที่ติดต่อกันได้จากการมีเพศสัมพันธ์


ฉันสามารถติดโรคเอสทีไอ (STI) ได้อย่างไร


เชื้อโรคเอสทีไออาศัยอยู่ที่ผิวหนัง ในเลือด หรือในของเหลวจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่นน้ำอสุจิ  ของเหลวจากช่องคลอด

ท่านสามารถติดเชื้อโรคเอสทีไอได้จากการมีเพศสัมพันธ์  (ผ่านทางช่องคลอด  ทางทวารหนัก หรือทางปาก) หรือกระทั่งจากการสัมผัสอวัยวะเพศก็ตาม

ท่านสามารถติดเชื้อเอสทีไอได้ถ้าไม่ใช้ถุงยางอนามัย

เชื้อเอสทีไอจะมีผลต่อร่างกายอย่างไร


สำหรับเพศหญิง เชื้อเอสทีไอเป็นสาเหตุให้เกิด

  • อาการปวดท้องอย่างรุนแรง
  • อาการตกขาวจากช่องคลอด
  • เป็นตุ่มใกล้ช่องคลอด
  • ทารกเติบโตนอกมดลูก
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด (หรือแท้งลูก)
  • ทารกป่วยหนัก

สำหรับเพศชาย เชื้อเอสทีไอเป็นสาเหตุให้

  • ชายเป็นหมัน
  • มีอาการตกขาวจากอวัยวะเพศ
  • เป็นตุ่มที่อวัยวะเพศชาย

มีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะ

ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่าฉันติดเชื้อเอสทีไอ


คนส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวว่าตนเองติดเชื้อเอสทีไอ เพราะสภาพตนเองยังดูดีและยังรู้สึกสบายดีโดยไม่สำแดงอาการใดๆ  วิธีเดียวที่จะรู้ได้อย่างแน่ชัด ก็คือต้องไปให้แพทย์ตรวจ  ซึ่งแต่ละผู้ป่วยก็จะมีวิธีการตรวจที่แตกต่างกันตามแต่อาการของเอสทีไอที่ต่างกัน ได้แก่

  • การตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจเลือด
  • การใช้สำลีซับผนังอวัยวะเพศเพื่อการตรวจเชื้อ

ท่านอาจต้องโดนตรวจเพียงอย่างเดียว หรือตรวจทั้งสามอย่าง   โดยแพทย์จะเป็นผู้ชี้แจงว่าท่านจะต้องตรวจอะไรบ้าง

โรคเอสทีไอสามารถบำบัด หรือรักษาได้หรือไม่


เชื้อเอสทีไอบางชนิดสามารถบำบัดได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายด้วยการกินยา  บางชนิดก็สามารถรักษาได้แต่บำบัดให้หายขาดไม่ได้

ฉันควรไปตรวจเมื่อไหร่


ควรไปตรวจเชื้อเอสทีไอหากท่าน

  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย (ทั้งผ่านทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางหวารหนัก)
  • สำแดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • วิตกกังวลเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศของท่าน
  • คิดว่าอาจติดเชื้อเอสทีไอมา
  • ถุงยางอนามัยแตก หรือหลุดออกขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ท่านหรือคู่นอนของท่านมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่น
  • ท่านหรือคู่นอนของท่านเคยมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นมาก่อนในอดีต
  • ใช้เข็มฉีดยา กระบอกฉีดยา หรือช้อนในการฉีดยาเสพติดร่วมกัน
  • เริ่มมีเพศสัมพันธ์กับคนใหม่

การตรวจเชื้อเอสทีไอเป็นยังไง


เป็นการตรวจที่ไม่เจ็บปวดและรวดเร็ว และโดยปกติจะไม่ต้องเสียค่าตรวจใดๆ  การตรวจจะแตกต่างกันสำหรับเพศชายและเพศหญิง   โดยแพทย์หรือพยาบาลจะขอเก็บตัวอย่างของเหลวจากร่างกายในปริมาณเพียงเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น น้ำปัสสาวะ (น้ำฉี่) น้ำลาย  ของเหลวจากช่องคลอดหรือเลือด  สำหรับการตรวจบางอย่างท่านอาจทำด้วยตนเองก็ได้

การตรวจจะใช้เวลา 1 หรือ 2 สัปดาห์ก็จะทราบผล

ถ้าผลการตรวจของฉันออกมาเป็น “บวก” ฉันควรทำอย่างไร


ผลการตรวจที่เป็นบวก แปลว่าคุณมีเชื้อเอสทีไอ  แพทย์ก็จะจ่ายยาที่ใช้ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายแก่ท่าน

โปรดจำไว้ว่า เชื้อเอสทีไอบางชนิดสามารถรักษาได้ แต่บำบัดให้หายขาดไม่ได้

ฉันต้องบอกใครไหมว่าฉันเป็นเอสทีไอ


ท่านควรบอกคู่นอนของท่าน และคู่นอนของท่านเองก็ควรไปรับการตรวจด้วย  ถ้าคู่นอนของท่านไม่ไปตรวจและไม่ยอมกินยารักษา ท่านก็จะถ่ายเชื้อให้เขาอย่างต่อเนื่อง และเขาก็จะถ่ายกลับมาให้ท่านอีกเช่นกัน

หากท่านไม่สามารถบอกคู่นอนของท่านด้วยตัวเองได้  ก็ขอให้แพทย์หรือพยาบาลช่วยบอกแทนก็ได้  โดยแพทย์หรือพยาบาลจะไม่เปิดเผยถึงตัวท่าน  วิธีนี้เรียกว่า “บอกผ่านตัวแทน” (contact tracing)

แต่ท่านไม่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้บุคคลต่อไปนี้รับทราบ คือ

  • นายจ้าง
  • เพื่อนร่วมงาน
  • เพื่อนฝูง

ครอบครัว

ฉันจะแน่ใจได้อย่างไรว่าฉันจะไม่ถ่ายเชื้อเอสทีไอจากตัวเองไปถึงผู้อื่น


  • จะต้องไม่มีเพศสัมพันธ์กันจนกว่าตัวท่านและคู่นอนของท่านจะกินยาจนหมด
  • ใช้ถุงยางอนามัย

ฉันจะหลีกเลี่ยงการติดเชื้อเอสทีไอได้อย่างไร


วิธีที่ดีที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงการติดเชื้อเอสทีไอก็คือ ให้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

ข้อมูลเพิ่มเติม